อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ทัศนคติ และบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง ต่อความตั้งใจจะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร

Dublin Core

ชื่อเรื่อง

อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ทัศนคติ และบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง ต่อความตั้งใจจะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร
Influences of online marketing communication, attitude, and subjective norms on sustainable tourism intention among generation Y consumers in Bangkok

หัวเรื่อง

การสื่อสารทางการตลาด
การตลาดอินเทอร์เน็ต
เจนเนอเรชันวาย

คำบรรยาย

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการเปิดรับเครื่องมือสื่อสารการตลาดออนไลน์ ทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงและความตั่งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มเจนเนอเรชั่น่ Y ในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของเครื่องมือสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีต่อทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง และ ความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มเจนเนอเรชั่น Y ในกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีต่อความตั่งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มเจนเนอเรชั่น Y ในกรุงเทพมหานครและ (4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มเจนเนอเรชั่น Y ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครกลุ่มเจนเนอเรชั่น Y ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ระหว่าง 19-39 ปี จำนวน 400 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับเครื่องมือ สื่อสารการตลาดออนไลน์อยู่ในระดับต่ำ ทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับสูง บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับปานกลาง ความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับสูง (2) เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดออนไลน์มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ Website (β=0.267) และ Line (β=0.260) (3) เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดออนไลน์มีอิทธิพลต่อบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงคือ Website (β=0.228) (4) เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดออนไลน์มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ Line (β=0.240),Website (β=0.221),Facebook (β=0.184) (5) ทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (β=0.710) (6) บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (β=0.253) จากผลการวิจัยดังกล่าวควรนำเครื่องมือดังกล่าวไปพัฒนาการวางแผนการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล สูงสุดในช่องทางการสื่อสารการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook การสื่อสารการตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทาง YouTube และการสื่อสารการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทาง Website เนื่องจากเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ในงานวิจัยครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างเปิดรับสูงที่สุด

ผู้สร้าง

ชวิศา อุ่นยนต์

แหล่งที่มา

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้เผยแพร่

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่

2563

ผู้มีส่วนสนับสนุน

นธกฤต วันต๊ะเมล์

สิทธิ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ความสัมพันธ์

-

รูปแบบ

PDF

ภาษา

ไทย

ประเภท

วิทยานิพนธ์

ตัวระบุ

-

ความครอบคลุม

-

คอลเลกชัน

การอ้างอิง

ชวิศา อุ่นยนต์, “อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ทัศนคติ และบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง ต่อความตั้งใจจะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร,” ฐานข้อมูลด้านงานวิจัยนิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ , เข้าถึง 18 พฤษภาคม 2024, https://cairesearch.omeka.net/items/show/310