การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรค ในกรุงเทพมหานคร

Dublin Core

ชื่อเรื่อง

การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรค ในกรุงเทพมหานคร
INFORMATION PERCEPTION CONCERNING NOVEL CORONAVIRUS (COVID-19) THROUGH SOCIAL MEDIA ON THE ATTITUDES AND PREVENTIVE BEHAVIORS OF CITIZENS IN BANGKOK

หัวเรื่อง

การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ไวรัสโคโรนา
สื่อสังคมออนไลน์
โรคระบาด

คำบรรยาย

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร ระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บแบบสอบถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.50 อายุระหว่าง 26 – 35 ปี ร้อยละ 42.00 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 57.00 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 49.00 รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 26.25 การเปิดรับข้อมูลข่าวสารโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 (ระดับปานกลาง) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 (ระดับมาก) มีการรับรู้หากกลับจากการเดินทางในพื้นที่ระบาด จะต้องกักตัว 14 วัน ในระดับมาก ทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 (ระดับปานกลาง) มีพฤติกรรมป้องกันโรคโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (ระดับมาก) มีการสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง ในระดับมาก 2) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผู้สร้าง

ปทุมมา ลิ้มศรีงาม

แหล่งที่มา

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 (2021): กันยายน 2564

ผู้เผยแพร่

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

วันที่

31 สิงหาคม 2564

ผู้มีส่วนสนับสนุน

ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว
วราพรรณ อภิศุภะโชค

สิทธิ

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

ความสัมพันธ์

-

รูปแบบ

PDF

ภาษา

ไทย

ประเภท

บทความวิจัย

ตัวระบุ

-

ความครอบคลุม

-

คอลเลกชัน

การอ้างอิง

ปทุมมา ลิ้มศรีงาม, “การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรค ในกรุงเทพมหานคร,” ฐานข้อมูลด้านงานวิจัยนิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ , เข้าถึง 17 พฤษภาคม 2024, https://cairesearch.omeka.net/items/show/280